2. การเทรด CFD คืออะไร

สัญญาส่วนต่าง (หรือ CFD) เป็นสัญญาระหว่างสองฝ่ายซึ่ง One Financial เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องในสถานการณ์นี้ โดยจะเป็นผู้ซื้อสำหรับผู้ขายและเป็นผู้ขายสำหรับผู้ซื้อ ผู้ขายจะชำระเงินส่วนต่างระหว่างมูลค่าสินทรัพย์ในปัจจุบันและมูลค่าในเวลาทำสัญญาให้แก่ผู้ซื้อ (หากส่วนต่างเป็นลบ ผู้ซื้อต้องชำระเงินให้แก่ผู้ขาย) จะเห็นได้ว่า CFDs เป็นอนุพันธ์ทางด้านการเงินที่ทำให้นักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคา (สถานะ long) หรือการปรับตัวลดลงของราคา (สถานะ short) ในตราสารทางการเงินอ้างอิง และมักจะใช้เพื่อเก็งกำไรในตลาดเหล่านี้

• หากส่วนต่างระหว่างมูลค่าในปัจจุบันและในขณะทำสัญญาเป็นลบ ผู้ซื้อจะต้องชำระเงินให้แก่ผู้ขาย
• หากส่วนต่างเป็นบวก ผู้ขายจะต้องชำระเงินส่วนต่างตามมูลค่าให้แก่ผู้ซื้อ

โดย…

• ไม่มีข้อจำกัดในราคาเข้าหรือราคาออก CFD
• ไม่จำกัดเวลาที่การดำเนินการนี้จะเกิดขึ้น
• ไม่จำกัดว่าจะซื้อหรือขายก่อน

ตัวอย่างการเทรด CFD

CFDs มักเทรดโดยใช้สิ่งที่เรียกว่าเลเวอเรจ [โปรดอย่ากังวล เราจะลงรายละเอียดในเรื่องนี้ภายหลัง] เพื่อให้ผู้เทรดมีอำนาจในการเทรด มีความยืดหยุ่น และมีโอกาสมากยิ่งขึ้น ขณะนี้ มาลองทำความเข้าใจง่ายๆ ด้วยตัวอย่างต่อไปนี้:

ข้อตกลง:

• A เชื่อว่าราคาทองจะขึ้นจาก $1,250.00 ต่อ oz
• B เชื่อว่าราคาทองจะลดจาก $1,250.00 ต่อ oz
ดังนั้น ลูกค้าสองรายจึงเข้าทำข้อตกลงเพื่อตกลงกันเกี่ยวกับส่วนต่างจาก $1,250.00
ผล:

• A ซื้อทอง 1 oz ที่ราคา $1,250.00
• B ขายทอง 1 oz ที่ราคา $1,250.00
3 วันถัดมา ทองคำเทรดอยู่ที่ $1,255.00 ซึ่งแสดงว่า A ได้กำไร $5 จาก oz และ B ขาดทุน $5
• A จึงปิดสถานะที่ $1,255.00 และทำกำไร $5
• B จึงปิดสถานะที่ $1,255.00 และขาดทุน $5

ตัวอย่างนี้ทำให้ CFDs ดูเป็นเรื่องง่ายเพราะว่า CFDs เป็นเรื่องง่ายจริงๆ การเทรด CFDs ก็ไม่ได้แตกต่างจากการเทรดหุ้นแบบเดิมๆ

• หากคุณซื้อหุ้นของบริษัทแห่งหนึ่ง 500 หุ้นที่ £5 คุณจะมีหุ้นมูลค่า £2500
• หากคุณซื้อหุ้น 500 หุ้นด้วย CFD ที่ £5 คุณจะลงทุนไปมูลค่า £2500
• หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 10% คุณจะทำกำไรได้ £250 จากการเทรดหุ้นของคุณ
• หากราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 10% คุณจะทำกำไรได้ £250 จากการเทรด CFD ของคุณ

ตอนนี้ คุณคงกำลังคิดว่าหากมีมูลค่าเท่ากัน กำไรเทียบเท่ากัน ขาดทุนเท่ากัน ความเสี่ยงเท่ากัน แล้วเหตุใดจึงจะเทรด CFDs ล่ะ
อ่าน “ข้อได้เปรียบในการเทรด CFD” ทางด้านล่างเพื่อดูข้อมูล

ข้อได้เปรียบในการเทรด CFD

การคำนวณกำไรและขาดทุน

กำไรหรือขาดทุนของ CFD สามารถคำนวณได้โดยใช้สูตรที่ง่ายๆ

P/L = (ราคาขาย* - ราคาซื้อ*) x จำนวน CFDs
*โดยไม่มีจุดทศนิยม

คุณไม่จำเป็นต้องซื้อหรือขายก่อนเพราะกำไรของ CFD ก็คือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย ง่ายเพียงนิดเดียว!
คุณจะพบตัวอย่างของการคำนวณ P/L ในส่วนที่เหลือของเอกสารนี้


ทำกำไรจากตลาดขาลง

ด้วย CFDs คุณจะสามารถได้รับประโยชน์ไม่ว่าราคาตราสารจะปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตาม เนื่องจากไม่มีข้อจำกัดในการเปิดสถานะซื้อหรือขายในการเทรด CFD ตามที่เราได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้

การเข้าสู่สถานะขายแล้วซื้อซึ่งคุณจะทำหากคาดว่าตลาดจะปรับตัวลดลงนั้นเรียกว่าการขาย Short และทำให้คุณสามารถขายสถานะก่อน แล้วจึงซื้อกลับคืนในราคาที่ต่ำกว่า

ตัวอย่างการใช้สูตร P/L ง่ายๆ มีดังต่อไปนี้
คุณขาย 10 CFDs ที่ 95.50 [เนื่องจากคุณคิดว่าตลาดอยู่ในช่วงขาลง]
…และก็เป็นเช่นนั้น ดังนั้น เพื่อปิดการเทรด…
คุณจึงซื้อ 10 CFDs ที่ 94.05

ดังนั้น กำไรหรือขาดทุน (P/L) จะเป็น…
P/L=(9550 – 9405)x10
=145x10
=$1450

เทรดได้หลากหลายตลาด

ด้วย CFDs คุณจึงไม่ถูกจำกัดให้เทรดสินทรัพย์ประเภทเดียวเท่านั้น ทำให้คุณสามารถเทรดผลิตภัณฑ์ที่คุณชื่นชอบได้ด้วย CFDs ด้วย One Financial คุณจะสามารถเทรด CFDs ได้ใน:

• การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FOREX หรือ FX)
• สินค้าโภคภัณฑ์
• ดัชนี
• หุ้น
• ทองคำหรือโลหะเงิน

ไม่มีอากรแสตมป์

เมื่อใดก็ตามที่คุณซื้อหุ้น คุณจะต้องจ่าย 0.5% ของมูลค่าการเทรดของคุณให้กับรัฐบาล แต่ CFDs แตกต่างจากการลงทุนอื่นๆ เพราะไม่มีอากรแสตมป์ที่จะต้องชำระเมื่อเทรด CFD

ความยืดหยุ่นด้านหลักประกัน

CFDs เทรดด้วยสิ่งที่เราเรียกว่าหลักประกัน ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถเปิดสถานะในตลาดได้โดยไม่ต้องฝากเงินเต็มจำนวนตามมูลค่าสัญญา

ตัวอย่างเช่น One Financial เสนอเลเวอเรจ 200:1 สำหรับ FX ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของเงินฝาก $5,000 เพื่อเทรดในมูลค่า $1 ล้าน!
เราจะพูดถึงตัวอย่างการทำงานของหลักประกันและการเลเวอเรจในช่วงหลังการฝึกอบรม

แต่ในขณะนี้ ทั้งหมดที่คุณจำเป็นจะต้องรู้จริงๆ ก็คือเลเวอเรจเป็นการใช้ทุนของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพแท้จริงและทำให้คุณมีอิสระที่จะเทรดสินค้าอื่นๆ ได้หลากหลาย

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการเทรด CFD

CFDs อาจเป็นธุรกิจที่เสี่ยงตามที่เราได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ เลเวอเรจทำให้คุณสามารถเปิดสถานะที่ใหญ่กว่าขนาดเงินฝากของคุณ ซึ่งหมายความว่าคุณอาจทำกำไรได้จำนวนมากแต่นั่นก็หมายความว่ามีความเสี่ยงที่จะขาดทุนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมมาก

หากคุณเป็นมือใหม่ การจัดการความเสี่ยงของคุณจะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด อันที่จริงแล้ว การจัดการความเสี่ยงของคุณมีความสำคัญอย่างยิ่งจนเราได้จัดทำโมดูลทั้งโมดูลขึ้นเพื่ออธิบายวิธีดังกล่าว

ตลาดหลัก 3 ประเภท

ทองคำหรือโลหะเงิน

ความต้องการทองคำหรือโลหะเงินไม่ได้เกิดขึ้นจากการใช้งานตามจริงเท่านั้น แต่ยังเกิดจากการลงทุนและการเก็บของมีค่าอีกด้วย เงินกระดาษมากับปัญหาทุกอย่าง เช่น ความเสี่ยงที่จะเกิดเงินเฟ้อเมื่อมีปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งอาจมีผลในเชิงลบต่อการลงทุนในเงินกระดาษ ทองคำและโลหะเงินมีความปลอดภัยกว่าในแง่นี้ เนื่องจากมูลค่าไม่ได้อ้างอิงกับความมั่นคงของรัฐบาล ดังนั้น ปัญหาต่างๆ เช่น เงินเฟ้อและเศรษฐกิจตกต่ำจึงไม่ได้มีผลกระทบอย่างแท้จริง
เมื่อเทรดทองคำหรือโลหะเงินผ่าน CFD คุณไม่ต้องส่งมอบทองคำหรือโลหะเงิน ดังนั้น ส่วนต่างของราคาระหว่างราคาซื้อและราคาขายจะได้รับการคำนวณเป็นจำนวนเงิน

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อราคาทองคำหรือโลหะเงิน

ราคาทองคำและโลหะเงินเคลื่อนไหวตามอุปสงค์และอุปทานซึ่งค่อนข้างคล้ายคลึงกับการลงทุนและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เมื่อพิจารณาว่าทองคำและโลหะเงินส่วนใหญ่ที่ขุดขึ้นมายังคงไม่หายไปและสามารถกลับเข้าสู่ตลาดได้อีก การเปลี่ยนแปลงทางด้านราคาจึงเกิดจากความอ่อนไหวมากกว่าการเปลี่ยนแปลงในการผลิตหรือความต้องการด้านเครื่องประดับที่จะกระทบต่อราคา


ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

• อัตราดอกเบี้ยตามจริงต่ำ/มีแนวโน้มลดลง: ระหว่างช่วงที่อัตราดอกเบี้ยตามจริงต่ำหรือมีแนวโน้มลดลงเมื่อเกิดเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญและดอกเบี้ยต่ำมาก นักลงทุนจะมองหาทองคำหรือโลหะเงินซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัยเพื่อปกป้องเงินลงทุนของตน
• สงคราม: เมื่อเกิดความไม่แน่ใจ โดยเฉพาะเมื่อกังวลว่าจะเกิดสงคราม ความต้องการทองคำหรือโลหะเงินจะเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากนักลงทุนจะมองว่าทองคำหรือโลหะเงินเป็นการลงทุนที่มั่นคงซึ่งราคาไม่ผันผวนมากนักในประเทศต่างๆ
• ความอ่อนไหว: มีผู้กล่าวไว้ว่า ‘ทองคำเป็นกระต่ายตื่นตูมของโลกใบนี้’ เมื่อวิกฤตการณ์ที่กระทบต่ออุปสงค์ของทองคำหรือโลหะเงินตามจริงเพิ่มมากขึ้น
เวลาเปิด
เราแจ้งราคาทองคำหรือโลหะเงินเวลา 23:00 วันอาทิตย์ตามเวลาลอนดอนจนถึง 21:00 วันศุกร์ตามเวลาลอนดอน เราเสนอราคาทองคำหรือโลหะเงิน 24 ชั่วโมงต่อวันระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ยกเว้นช่วงพักตลาดที่ 22:15 – 23:00 ทุกวัน

ดัชนี

ดัชนีตลาดหุ้นคือรายการของหุ้นและค่าสถิติที่กระทบต่อค่าโดยรวมของหุ้นที่อยู่ในตลาดนั้นๆ โดยพื้นฐานแล้ว จึงเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้นเองของหุ้นซึ่งแสดงภาพโดยรวม บางส่วน หรือส่วนที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุดของตลาด หุ้นทั้งหมดในดัชนีจะมีบางสิ่งเหมือนๆ กัน ตัวอย่างเช่น อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน และดัชนีก็เป็นเครื่องมือที่จะแสดงถึงลักษณะเฉพาะของหุ้นเหล่านี้ทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่เรียกว่าดัชนีพิเศษ ดัชนีเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถติดตามผลการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมหนึ่งๆ แต่ส่วนใหญ่นั้น ดัชนีที่จะได้รับการเสนอเป็นดัชนีที่กว้างๆ ซึ่งจะครอบคลุมหุ้นหลักๆ ในตลาด ดัชนีที่อ้างอิงอย่างกว้างๆ จะแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของตลาดหุ้นโดยรวมและสะท้อนถึงความอ่อนไหวที่นักลงทุนมีต่อสถานะเศรษฐกิจ ดัชนีอาจดูเหมือนเป็นสิ่งที่น่าสับสน แต่คุณน่าจะเคยได้เห็นดัชนีมาก่อนหน้านี้แล้ว ดัชนีตลาดที่มีการกล่าวถึงบ่อยที่สุดนั้นจัดทำขึ้นจากหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เช่น ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์และดัชนี S&P 500 ของอเมริกา ดัชนี FTSE 100 ของอังกฤษ ดัชนี CAC 40 ของฝรั่งเศส ดัชนี DAX ของเยอรมัน ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่น และดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดัชนี

ดัชนีจะสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งโดยรวมและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ รวมถึงจะได้รับผลกระทบจากสถานะทางด้านอุตสาหกรรมและการเมืองของประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องจำไว้ว่าดัชนีของประเทศมีความเชื่อมโยงกับความแข็งแกร่งของสกุลเงินในประเทศนั้นๆ โดยตรง เนื่องจากสกุลเงินของประเทศจะเป็นตัวกำหนดความสามารถในการแข่งขันในต่างประเทศของบริษัท

ปัจจัยด้านอุตสาหกรรม

• ยอดดุลในการเทรด: หมายถึงความแตกต่างระหว่างมูลค่าที่เป็นตัวเงินของการส่งออกและนำเข้าในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ยอดดุลที่เป็นบวกเป็นที่รู้จักในชื่อการเกินดุลการค้า และหมายความว่ามีการส่งออกสินค้ามากกว่าการนำเข้า ส่วนสิ่งที่ตรงข้ามก็คือการขาดดุลการค้า ตัวเลขที่สำคัญในกรณีนี้ก็คือตัวเลขการส่งออก เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของตัวเลขนี้หมายความถึงสถานะในการแข่งขันที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นของประเทศ และ/หรือเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในต่างประเทศกำลังส่งเสริมการเติบโตภายในประเทศ
• ผลิตผลภาคอุตสาหกรรม: ผลผลิตของภาคอุตสาหกรรมหลัก เช่น การผลิต การทำเหมือง และสาธารณูปโภคมีความอ่อนไหวอย่างยิ่งต่อความต้องการของผู้บริโภคและอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ยังหมายความว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมก็เป็นปัจจัยที่สำคัญเมื่อคาดการณ์ถึงผลการดำเนินงานและการเติบโตทางเศรษฐกิจ อันที่จริงแล้ว นี่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ธนาคารกลางใช้เพื่อวัดอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สูงอาจทำให้เกิดระดับการบริโภคที่ไม่ได้รับการควบคุมและทำให้เกิดเงินเฟ้อ
• การแข็งตัวของค่าเงินที่เกี่ยวข้อง: ใช้พิจารณาความสามารถในการแข่งขันของบริษัทที่จะแข่งขันกับนานาชาติ หากสกุลเงินของประเทศแข็งค่า ค่าแรงและค่าผลิตก็จะสูงขึ้น ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ก็จะสูงขึ้นเช่นกัน
ปัจจัยทางด้านการเมือง
ปัจจัยทางด้านการเมืองเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง และมีความเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจสำหรับนักลงทุนหลายๆ รายเมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน รวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น เสถียรภาพทางการเมืองและสังคมภายในประเทศ นโยบายของรัฐบาล สภาพแวดล้อมที่ควบคุมบังคับ และการแทรกแซงของธนาคารกลาง

การคิดราคาดัชนี

ผู้ดูแลสภาพคล่องเช่น One Financial Markets มักจะมีราคาที่แตกต่างจากราคาซึ่งแจ้งกันในตลาด เนื่องจากสัญญาอ้างอิงจะเป็นสัญญาในอนาคต ตัวอย่างเช่น เราเสนอผลิตภัณฑ์ที่คำนวณโดยจุดซึ่งถือครองข้ามวันได้ เราจะใช้หลักการที่เรียกว่า Fair value (มูลค่ายุติธรรม) เพื่อแปลงราคาในตลาดล่วงหน้าของดัชนีให้เป็นราคาที่เทียบเท่ากับราคาในตลาดจริงโดยหักลบราคาที่เกี่ยวข้องในการถือครอง [เช่น เงินปันผล อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ]
หากคุณยังเข้าใจแนวคิดเรื่อง Fair value ได้ไม่ชัดเจน ตัวอย่างต่อไปนี้อาจจะทำให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้น

LIFFE FTSE เทรดล่าสุดที่ 5500
Fair value คือ -10
ราคาของผู้ดูแลสภาพคล่องจะอยู่ที่ 5489-5491 (กำหนดโดยใช้สเปรดของ PIP 2 จุดจากการประมาณราคาใหม่ในตลาดจริงที่ 5490)
ผู้ดูแลจะคอยติดตามตรวจสอบ Fair values เพื่อให้แน่ใจว่าราคาของเราสอดคล้องกับตลาดฟิวเจอร์ส
นอกจากนี้ คุณควรทราบว่าราคาของเราอาจแตกต่างจากตลาดเงินที่คุณจะเห็นการแสดงราคาใน Bloomberg, Reuters หรือแหล่งอ้างอิงอื่นๆ เนื่องจากราคาในตลาดจริงจะได้รับการคำนวณจากส่วนเพิ่มเติมของราคาหุ้นที่เป็นส่วนประกอบซึ่งได้รับการถ่วงน้ำหนัก โดยอาจทำให้เกิดส่วนต่างไม่ว่าหุ้นในดัชนีจะถูกพักการเทรดหรือไม่ได้กำลังเทรดอย่างถูกต้อง ดังนั้น ราคาของ One Financials จึงมีความแม่นยำมากกว่าเนื่องจากเป็นตราสารที่เทรดได้โดยอ้างอิงตามตราสารอื่นที่เทรด

การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (ยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อ FX, FOREX หรือตลาดเงินตรา) เป็นตลาดเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีมูลค่าการเทรดเฉลี่ยโดยประมาณที่ $3.0 ล้านล้านของสกุลเงินที่เทรดในแต่ละวัน ตลาดเกิดขึ้นเมื่อมีสกุลเงินหนึ่งเทรดอยู่กับสกุลเงินอื่นและมีธุรกรรมระหว่างธนาคารขนาดใหญ่ ธนาคารกลาง ผู้เก็งกำไรสกุลเงิน บริษัทข้ามชาติ รัฐบาล และตลาดรวมถึงสถาบันการเงินอื่นๆ ตลาด FX คือตลาด OTC (การเทรดนอกตลาด) ซึ่งผู้มีส่วนร่วมจะเทรดผ่านโทรศัพท์และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ One Financial Markets เป็นหนึ่งในผู้ดูแลสภาพคล่องที่นำเสนอราคาของตนเองซึ่งได้มาจากข้อมูลที่ป้อนเข้าไปของคู่สัญญาต่างๆ ที่น่าเชื่อถือ เราไม่ได้ส่งมอบเงินจริง แต่มอบเงินตามสัญญาส่วนต่าง ดังนั้น ลูกค้าจึงสามารถเก็งกำไรได้จากการอ่อนค่าหรือการแข็งค่าของสกุลเงินนั้นๆ กับสกุลเงินอื่น

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตรา FX

อัตราการแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวจะเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและเคลื่อนไหวตามอุปสงค์และอุปทานของเงินแต่ละสกุลเช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ปัจจัยที่กระทบต่ออุปสงค์และอุปทานสามารถแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 กลุ่ม: เศรษฐกิจและการเมือง

ปัจจัยทางเศรษฐกิจ

• อัตราดอกเบี้ยที่เกี่ยวข้อง: อัตราดอกเบี้ยคือผลตอบแทนที่นักลงทุนสามารถได้รับจากการให้กู้ยืมเงินในสกุลดังกล่าว ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดว่าหากนักลงทุนสามารถได้รับดอกเบี้ยแค่เพียง 3% ในสกุลเงินภายในประเทศของตน แต่ 6% ในสกุลเงินต่างประเทศ นักลงทุนรายดังกล่าวจะสามารถเพิ่มผลตอบแทนของตนได้โดยแลกเปลี่ยนเงินของตนกับสกุลเงินต่างประเทศแล้วให้กู้ยืมเงิน สกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจะมีแนวโน้มแข็งค่า/มีค่าสูงขึ้นเนื่องจากมีอุปสงค์เพิ่มมากขึ้น
• ความเสมอภาคของอํานาจซื้อ (PPP): หมายถึงการวัดว่าค่าสินค้าที่เทียบเท่ากันคือเท่าใดในสองสกุลเงินที่ต่างกัน หากอัตราแลกเปลี่ยน EUR/USD คือ 1.2500 และรถแบบเดียวกันในฝรั่งเศสราคา €8,000 แต่ในอเมริการาคา $11,000 คนที่อยู่ในอเมริกาและสั่งรถเข้ามาจากฝรั่งเศสจะซื้อรถได้ในราคาที่ถูกกว่า (โดยไม่คำนึงถึงค่านำเข้า พิกัดอัตราภาษีศุลกากร ฯลฯ) เนื่องจากจะมีราคาเพียง €8,000 x 1.25 = $10,000 ดังนั้น ประเทศที่มี PPP ต่ำกว่าก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง/มีค่าต่ำลงเนื่องจากผู้บริโภคจะมองหาสินค้าต่างประเทศที่ราคาถูกกว่าแล้วแลกเปลี่ยนสกุลเงินในประเทศของตนกับเงินสกุลต่างประเทศ
• สภาพเศรษฐกิจ: หากนักลงทุนเห็นโอกาสที่จะลงทุนในประเทศหนึ่งๆ พวกเขาจะแลกเปลี่ยนสกุลเงินในประเทศของตนกับสกุลเงินของประเทศดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของสกุลเงินนั้นๆ อัตราแลกเปลี่ยนจึงเพิ่มขึ้นด้วย องค์ประกอบที่ทำให้นักลงทุนนานาชาติมองว่าปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เป็นที่น่าสนใจนั้นมีความซับซ้อนและมีหลายแง่มุม รวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น การเติบโตของ GDP เงินเฟ้อ และปัจจัยแวดล้อมทางด้านภาษี

ปัจจัยทางด้านการเมือง

ปัจจัยทางด้านการเมืองมีความเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจสำหรับนักลงทุนหลายๆ รายเมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุน รวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น เสถียรภาพทางการเมืองและสังคมภายในประเทศ นโยบายของรัฐบาล สภาพแวดล้อมที่ควบคุมบังคับ และการแทรกแซงของธนาคารกลาง

เวลาเปิด

เราเริ่มต้นแจ้งราคาการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเมื่อ 22:15 วันอาทิตย์ตามเวลาลอนดอนจนถึง 21:00 วันศุกร์ตามเวลาลอนดอน เรานำเสนอราคาสกุลเงิน 24 ชั่วโมงต่อวันระหว่างช่วงเวลานี้
ในตลาดสามประเภทเหล่านี้ FX อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณต้องนึกถึงเมื่อคุณตัดสินใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเทรด หากคุณยังคงไม่แน่ใจหรือต้องการรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ FX ให้ดูข้อมูลที่โมดูลถัดไปซึ่งเป็นเรื่องตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศโดยเฉพาะ

Begin trading today! Create an account by completing our form

Privacy Notice

At One Financial Markets we are committed to safeguarding your privacy.

Please see our Privacy Policy for details about what information is collected from you and why it is collected. We do not sell your information or use it other than as described in the Policy.

Please note that it is in our legitimate business interest to send you certain marketing emails from time to time. However, if you would prefer not to receive these you can opt-out by ticking the box below.

Alternatively, you can use the unsubscribe link at the bottom of the Demo account confirmation email or any subsequent emails we send.

By completing the form and downloading the platform you agree with the use of your personal information as detailed in the Policy.

สัญญาส่วนต่าง (Contracts for Difference หรือ CFDs) และ FX ที่มีหลักประกันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงในเงินลงทุนของคุณอย่างยิ่ง เนื่องจากราคาอาจเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในทิศทางตรงข้ามกับการลงทุนของคุณและอาจทำให้คุณขาดทุนเกินกว่าเงินวางมัดจำขั้นต้น CFDs และ FX จึงอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทุกรายและคุณควรทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องก่อนเปิดบัญชี โปรดอ่าน คำเตือนด้านความเสี่ยง บนเว็บไซต์ของเรา

Back to top

One Financial Markets is the trading name of Axi Financial Services (UK) Ltd, a company registered in England with company number 6050593. Axi Financial Services (UK) Ltd is authorised and regulated by the Financial Conduct Authority in the UK (under firm reference number 466201)

The information on this site is not directed at residents of the United States, Belgium, Poland or any particular country outside the UK and is not intended for distribution to, or use by, any person in any country or jurisdiction where such distribution or use would be contrary to local law or regulation.

www.onefinancialmarkets.com is owned and operated by Axi Financial Services (UK) Ltd.